วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เราได้ประโยชน์อะไรจากงานกราฟิค อย่างไรบ้าง

ทำให้ ภาพดูขาวสวยขึ้น

สามารถแต่งภาพได้ และเพิ่มความสวยงามให้กับภาพมากขึ้น

สไลค์โชว์


วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของสวน


สวนที่มีความเหมาะสมกับคุณนั้นมีหลักแนวคิดง่ายๆคือ
"คุณต้องการใช้ประโยชน์จากสวนของคุณอย่างไร"
และ "คุณอยากให้สวนของคุณมีอะไรบ้าง" ซึ่งพอจะอธิบาย
รายละเอียดได้ว่า หากคุณจัดสวนเพื่อคิดจะป้องกันเสียงรบกวน
ควรเลือกใช้ไม้พุ่มหนา ที่สามารถป้องกันเสียงได้ดี
เช่น อโศกอินเดีย ชบา เข็ม และผกากรอง

พรรณไม้บางชนิดที่มีใบละเอียดมาก สามารถนำมาใช้จัดสวน
เพื่อกรองฝุ่นละอองได้ โดยพรรณไม้ที่สามารถดักจับฝุ่นละออง
ในอากาศได้มากได้แก่ สนทะเล สนประดิพัทธ์เป็นต้น

การจัดแต่งบางตำแหน่งของสวน เพื่อปิดบังสภาพแวดล้อม
ที่ไม่เหมาะสมของบริเวณใกล้เคียงเช่น บริเวณใกล้บ้านที่
มีกองขยะ สวนและต้นไม้จะช่วยกรองเชื้อโรค
และปิดบังภาพไม่น่าดูได้

บางกรณีเพื่อให้เกิดความเป็นส่วนตัว การจัดสวน สามารถป้องกัน
การลอบมองจากเพื่อนบ้าน เช่น ภายในบ้านมีสระว่ายน้ำ
หรือมุมสงบส่วนตัว

ในขณะที่บางคนต้องการจัดสวนเพื่อความสุขทางด้านจิตใจ
เมื่อสภาพของสวนในบ้านมีสีเขียวสดใส มีร่มเงาของต้นไม้
มีบ่อน้ำ ลำธาร หรือน้ำตกจำลอง จึงทำให้ได้มีโอกาสใกล้ชิด
ธรรมชาติมากขึ้น

นอกจากนั้นสวนยังมีประโยชน์ในการใช้สอยเช่นปลูกสวนครัว
สวนสมุนไพร ปลูกไม้ผล หรืออาจใช้เพื่อออกกำลังกายโดยการวิ่ง
หรือเล่นเกมส์ต่างๆ ฝึกการปลูกเลี้ยงและดูแลต้นไม้
ช่วยทำให้มีงานอดิเรกซึ่งถือว่าเป็นการฝึกสมาธิแบบหนึ่ง

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอแม่วงก์ และกิ่งอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ตามเทือกเขาสูงชันก่อกำเนิดเป็นน้ำตกที่สวยงาม 4-5 แห่ง ทั้งเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีแก่งหินทำให้เกิดน้ำตกเล็กๆ ตามแก่งหินนี้ ตลอดจนมีหน้าผาที่สวยงามตามธรรมชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 558.750 ไร่ หรือ 894 ตารางกิโลเมตร
ด้วย นายสวัสดิ์ คำประกอบ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือจากสำนักนายกรัฐมนตรีที่ นร 0104/9871 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2526 ถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์) ขอให้จัดพื้นที่ป่าแม่วงก์-แม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งมีสภาพธรรมชาติและน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง สภาพป่าอุดมสมบูรณ์และเป็นป่าต้นน้ำลำธาร กำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1290/2526 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2526 ให้นายชัยณรงค์ จันทรศาลทูล นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูล ปรากฏว่า พื้นที่ดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกแม่กระสาหรือแม่กี ซึ่งสูงประมาณ 200 เมตร และหน้าผาต่างๆ สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจ ที่ กษ 0713/พิเศษ ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2526
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอคลองลาน กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร และกิ่งอำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก ประกอบด้วยป่าที่สมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำปิง มีสัตว์ป่า นานาชนิด ตลอดจนจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผา โป่งแก๊สธรรมชาติ เป็นต้น มีเนื้อที่ประมาณ 466,875 ไร่ หรือ 747 ตารางกิโลเมตร
ด้วย ฯพณฯ พันโทสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ไปตรวจราชการ ในท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร เกี่ยวกับการบุกรุกทำลายป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองวังเจ้า และป่าคลองสวนหมาก ท้องที่อำเภอคลองลาน และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2531 ได้บันทึกสั่งการให้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยาน แห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการป้องกัน อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดกำแพงเพชร ได้ประชุมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2531 มีมติเห็นสมควร กำหนดบริเวณป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพธรรมชาติให้อยู่คงเดิม
อุทยานแห่งชาติคลองลาน ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอคลองลานและอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ครอบคลุมพื้นที่ป่าคลองลานอันสมบูรณ์แหล่งสุดท้ายของจังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วยภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของน้ำหลายสาย เช่น คลองขลุง คลองสวนหมาก ซึ่งไหลรวมกันลงสู่แม่น้ำปิงและเป็นต้นน้ำตกคลองลานไหลลงสู่คลองขลุง เนื้อที่ประมาณ 187,500 ไร่ หรือ 300 ตารางกิโลเมตร
สืบ เนื่องจากนายเทพ ไสยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีหนังสือ ที่ กส 0215/230 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2521 ถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานผลการไปตรวจราชการที่จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2521 ว่า น้ำตกคลองลาน กิ่งอำเภอคลองลาน เป็นบริเวณป่าต้นน้ำลำธาร และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่ขาดการดูแลรักษา และมีการลักลอบตัดไม้ไปใช้สอย หากปล่อยทิ้งไ ว้บริเวณป่าต้นน้ำลำธารก็จะถูกทำลายลงไป ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตของศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขา กรมป่าไม้จึงมีหนังสือ ที่ กส 0808/1114 ลงวันที่ 14 เมษายน 2521 แจ้งให้ ป่าไม้เขตนครสวรรค์ตรวจสอบ ซึ่งได้รับรายงานตามหนังสือ ที่ กส 0809(นว)/1596 ลงวันที่ 27 เมษายน 2521 ว่า ได้ทำการสำรวจสภาพพื้นที่บริเวณน้ำตกคลองลานไว้แล้ว เพื่อจะขออนุมัติกรมป่าไม้จัดตั้งเป็นวนอุทยาน เพราะเห็นว่ามีทิวทัศน์สวยงามเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ซึ่งน้ำตกคลองลาน อยู่ในพื้นที่สงวนไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้ 40 เปอร์เซ็นต์ ของเขตพื้นที่ศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขากำแพงเพชร กรมประชาสงเคราะห์ ป่าไม้เขตนครสวรรค์จึงได้ประสานงานกับจังหวัดกำแพงเพชรและกรมประชาสงเคราะห์ ขอใช้พื้นที่บริเวณน้ำตกคลองลาน จำนวน 5,000 ไร่ ที่อยู่ในพื้นที่สงวนไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้ 40 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจัดเป็นวนอุทยาน ซึ่งกรมประชาสงเคราะห์ไม่ขัดข้อง จังหวัดกำแพงเพชรจึงมีหนังสือ ที่ มท 0714/13/13438 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2521 แจ้งให้กรมป่าไม้ดำเนินการจัดตั้งวนอุทยานเพื่อสงวนป่าต้นน้ำลำธารแห่งนี้

เเปลก OoO เเต่จิงปลารักษาโรค !!!!


มัจฉาบำบัด หรือ มัตสยาบำบัด
(
อังกฤษ: Fish spa) เป็นรูปแบบหนึ่งของสปาด้วยวิธีการวารีบำบัด โดยการใช้ปลาขนาดเล็ก ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จำพวกปลาเลียหิน (Garra) หรือ ปลาเล็บมือนาง (Crossocheilus) ให้ตอดตามผิวหนังของผู้ที่รับการบำบัด เพื่อขจัดผิวหนังชั้นนอกที่เป็นเซลล์ที่ตายแล้วออก เพื่อให้ร่างกายสร้างผิวหนังใหม่ขึ้นทดแทน เพื่อเป็นการป้องกันและรักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้ด้วยโดยมัตสยาบำบัดนั้นเริ่มต้นขึ้นแรกที่ประเทศตุรกี โดยปลาพื้นเมืองของตุรกี คือ Garra rufa ซึ่งเป็นปลาพื้นเมืองของตุรกี ที่มีความเหมาะสมในการดูดผิวหนังมนุษย์โดยที่ไม่มีผลข้างเคียง ต่อมารูปแบบของสปาแบบนี้ได้เริ่มแพร่หลายไปในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วยโดยการทำธุรกิจมัตสยาบำบัดนั้น คล้ายกับการเลี้ยงปลาในตู้เลี้ยง มีบ่อบำบัดน้ำและมีระบบน้ำวนเพื่อความสะอาดของน้ำด้วย ซึ่งปลาที่ใช้ได้นอกจาก Garra rufa แล้วยังสามารถใช้ปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกันชนิดอื่นได้ด้วย เช่น Garra sp. รวมถึงปลาในวงศ์อื่นได้ด้วย เช่น ปลาทอง หรือปลาหมอสีขนาดเล็กมัตสยาบำบัดนั้น นับว่าได้ผลอย่างมาก จนในภาษาอังกฤษเรียกปลาที่ใช้ในการบำบัดว่า "Doctor fish"